ตูนๆๆๆ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีเจตนาที่จะถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องอาศัยตัวกลางหรือพาหะ ซึ่งเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโยงที่สำคัญ อาจเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อการสอน สื่อการเรียน ซึ่งแต่ละคำหมายถึงตัวกลางทั้งสิ้น
........1.1 ความหมาย ประเภท ของสื่อการเรียนการสอน
นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
........1.2 คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
1) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด....
........1.3 หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่
หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้
........2.1 จิตวิทยาการรับรู้
การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้
........2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning ) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
........2.3 จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการ ( Developmental )เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
หน่วยที่ 3 การสื่อสาร
การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส
........3.1 ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ ผู้ส่งสาร (Sender) คือ แหล่งข้อมูลเริ่มต้น ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ บุคคล สื่อมวลชน สาร หรือข้อมูล (Message)
........3.2 รูปแบบของการสื่อสาร
รูปแบบทิศทางของการสื่อสาร 1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว และผู้รับข้อมูล ก็ทำหน้าที่รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวด้วยเช่นกัน
........3.3 แบบจำลองของการสื่อสาร
การสื่อสารโดยทั่วไปจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือผู้ส่งหรือผู้สื่อ --- --- --- เนื้อหา เรื่องราว และกระบวนการสื่อสาร --- --- --- ผู้รับความมุ่งหมายของการสื่อสารคือ การที่ผู้รับยอมรับสารที่ผู้ส่ง ส่งไปยังผู้รับ ถ้าผู้รับเข้าใจความหมายของสาร ที่ผู้ส่งขอให้ผู้รับปฏิบัติ แต่ผู้รับไม่ปฏิบัติตาม ความสำเร็จตามความมุ่งหมายของการสื่อสารนั้นก็ไม่เกิดขึ้น
........3.4 การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน
รูปแบบกระบวนการสื่อสารของเบอร์โล เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่า S.M.C.R.Process Model ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี การศึกษาได้เป็นอย่างดี
หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
การออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
........4.1 ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
........4.2 วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ
........4.3 การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
แบบจำลองเชิงนามธรรม เชิงแนวคิด หรือแบบจำลองที่เป็นซอฟต์แวร์ เช่น แบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองวิทยาศาสตร์ แบบจำลองคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีการสร้างแบบจำลอง แบบจำลองความคิด เป็นต้น แบบจำลองเชิงนามธรรม หรือแบบจำลองเชิงแนวคิด เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเชิงทฤษฎีเพื่อแทนกระบวนการเชิงสังคม เชิงชีววิทยา หรือ เชิงฟิสิกส์ ด้วยเซต ของตัวแปรและเซตของความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นทั้งเชิงตรรก และ เชิงปริมาณ
หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก
ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ วัสดุ + กราฟิกวัสดุ หมายถึงสิ่งของที่มีอายุการใช้งานระยะสั้นกราฟิก หมายถึงการแสดงด้วยลายเส้นวัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็ว
........5.1 ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก
สื่อกราฟิก หมายถึง การอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจประเภทของสื่อกราฟิก
1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ
2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์
ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ
........5.2 การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
ประสงค์ของการเรียนรู้1. เพื่อให้รู้ถึงความหมายของสีและการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
2. เพื่อให้รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
3.เ พื่อให้รู้ถึงแนวทางในการเลือกใช้ในการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์
4.เ พื่อให้รู้ถึงหลักการพิจารณาในการเลือกใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สีและการใช้สี ความเข้าใจในเรื่องของสีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีความสดใสสวยงาม น่าสนใจ และมีบทบาทในการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะและมีคูณภาพอีกด้วย ดั้งนั้น การเลือกใช้สีควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้งานนั้นสามารรถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มากที่สุดซึ่งแต่ละสีให้ความรู้สึกอารมณ์แก่ผู้ดูต่างๆ กันออก ไป
........5.3 การเขียนภาพการ์ตูน
การเขียนภาพการ์ตูน สำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียนภาพประกอบหนังสือให้เขาด้วยความรู้สึกนึกคิดที่สุขุมรอบคอบอย่างยิ่งเป็นพิเศษ เด็กระยะนี้กำลังจะถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่
........5.4 การออกแบบตัวอักษรหัวเรื่อง
วิธีการออกแบบตัวอักษรการออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสมวิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ
2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด
3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก
4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ
หน่วยที่ 6 การสร้างสื่อราคาเยา
แนวคิดทางการศึกษา ปัจจุบันมุ่งขยายขอบเขตทรัพยากรการเรียนรู้ออกไปทุกแบบ เช่น สื่อเกี่ยวกับบุคคล อาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ทางการศึกษา เกี่ยวกับวัสดุที่จะใช้เป็นการเรียนการสอนนั้น จึงมิได้จำกัดอยู่เพียง สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อโดยตรงเท่านั้น แต่วัสดุการสอน หมายถึง วัสดุทุกสิ่งทุกอย่างที่ ครูพึงหามาใช้ ประกอบการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หามาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครู ผู้สอนส่วนหนึ่งมักมองข้ามไป เมือนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงสื่อสำเร็จรูปจำพวกรูปภาพ แผนภูมิ สไลด์ ที่มีผลิตขาย ราคาค่อนข้างสูง
........6.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อราคาเยา
สื่อราคาเยานอกจากจะหมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย รวมถึงสื่อสิ่งของได้เปล่าจากการแจกจ่ายเผยแพร่ของหน่วยงาน
........6.2 หลักการออกแบบและการสร้างสื่อราคาเยา
ตัวอย่างการเลือกสื่อการสอนที่พบเห็นได้เสมอ เช่นครูสอนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับจำนวน การบวก การลบ และต้องการวัสดุเป็นชิ้น ๆ ก้อน ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือนับจำนวน แทนที่ครูจะนึกถึงก้อนดิน หิน หรือวัสดุอื่นอีกมาก ที่หาได้ไม่ยากในท้องถิ่น มาให้นักเรียนนับ แต่ครูกลับนึกถึงก้อนแม่เหล็กเป็นอันดับแรก และพยายามเรียกร้องให้มีการจัดซื้อกระดานแม่เหล็กมาใช้สอนนับจำนวน กรณีเช่นนี้เราได้นับจำนวนก้อนหินดูจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าการนับชิ้นส่วนบนกระดานแม่เหล็กเสียอีก ถ้าก้อนหินหาได้ง่ายนักเรียนทุกคนสามารถหามาได้ง่าย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
........6.3 วัสดุกับเทคนิคการออกแบบ
วัสดุการสอน หมายถึงวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ครูพึงหามาใช้ประกอบการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครูผู้สอนส่วนหนึ่งมักจะมองข้ามไป เมื่อนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนสักเรื่องหนึ่ง
........6.4 การประมินสื่อการสอนราคาเยา
ความจำเป็นด้านเศรษฐกิจของชาติ ในข้อนี้นักศึกษาตลอดถึงครูผู้สอน ผู้บริหารการศึกษาทั้งหลายย่อมทราบและตระหนักกันอยู่แล้วว่าประเทศของเรา เป็นประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หน่วยที่ 7 การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
การผลิตสื่อการสอน e-learningเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงการพัฒนาระบบ e-learning ในสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกับการพัฒนาระบบ e-learning เป็นอย่างมาก และได้มีการพัฒนาในส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ท ตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมก็คือการถือกำเนิดของ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand cyber university) และการพัฒนาศูนย์กลาง e-learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
........7.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง
........7.2 การใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน
การจัดตั้งสมาคม APEC เพื่อการศึกษาทางอินเตอร์เนตตามกระแสการเปลี่ยนสังคมที่ต้องมีความรู้ใหม่เป็นหลักฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีและการเก็บความรู้ใหม่จึงเป็นสิ่งที่ ...
หน่วยที่ 8 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
การสร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์ ในรูปแบบต่างๆ ต้องทำความรู้จักกับรายละเอียดเบื้องต้นที่จำเป็นก่อน โดยการบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์จะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ เช่น การจัดเตรียมไฟล์งาน การจัดการกับรูปภาพ การเลือกกระดาษ การออกแบบรูปลักษณ์ หรือรูปเล่ม การจัดหน้า เพื่อให้ใด้ผลงานตามรูปแบบที่ต้องการ
........8.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง สื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจด้วยภาษาเขียน โดยใช้วัสดุกระดาษพิมพ์ได้คราวละมาก ๆ อาจมีรูปแบบแตก...
........8.2 ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
จำแนกได้กว้าง ๆ ได้ 4 กลุ่มใหญ่ คือ1. หนังสือพิมพ์2. นิตยสารและวารสาร3. หนังสือเล่ม4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ....
........8.3 ระบบการพิมพ์
ระบบออฟเซ็ตระบบออฟเซ็ต เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สมุดหนังสือ ใบปลิว โปสเตอร์ ใบเสร็จ ล้วนแต่พิมพ์ด้วยระบบนี้ทั้งนั้น เพราะพิมพ์ได้สวยงาม พิมพ์ภาพได้ดี พิมพ์สี่สีก็สวย เหมาะสำหรับงานที่ยอดพิมพ์สูงๆ ควรจะหลายพันหรือเป็นหมื่นขึ้นไปจึงจะคุ้ม เพราะแม่พิมพ์มีราคาแพง พิมพ์สิบใบก็ได้ ...
........8.4 การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน
การพิมพ์จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตสำเนาเอกสารทางวิชาการซึ่งต้องการปริมาณมาก เช่น หนังสือ ตำราต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่อใช้เป็นคู่มือ เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ทั้งยังช่วยในการเผยแพร่ ความคิดทางด้าน วิทยาการต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย ในการให้การศึกษาจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อขยายความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น...

นิทานพื้นบ้าน


นิทานพื้นบ้าน หมายถึงเรื่องที่เล่าสืบกันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวาจา แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับการบันทึกไว้ นิทานพื้นบ้านปรากฏอยู่ในทุกๆ วัฒนธรรม มีทั้งความแตกต่าง หลากหลาย และความเหมือน มีความสำคัญในการเข้าถึงวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งนี้ จำแนกความสำคัญของนิทานพื้นบ้านได้เป็น 3 ประการ
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของนิทาน เช่น ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม สภาพเศรษฐกิจ ภูมิประเทศ และถิ่นฐานบ้านเรือน ทั้งรูปแบบการเล่านิทานที่ใช้คำประพันธ์เข้ามาช่วย เช่น แหล่ เทศน์ เสภา ยังสร้างความงามด้านรูปแบบอีกโสดหนึ่ง ดังนั้นหากเยาวชนได้เรียนรู้นิทานพื้นบ้านของตนจึงเป็นช่องทางในการรู้ตนเอง สามารถอธิบายตนเองได้ รวมทั้งอาจจะบอกได้ถึงข้อดีและข้อจำกัดในวัฒนธรรมนั้นๆ ของตนได้
2.ให้ความสนุกสนานเพลิด เพลิน ปกติแล้วผู้เล่านิทานมักเป็นผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบ การณ์ และผู้ฟังมักจะเป็นเด็กหรือมีประสบการณ์น้อยกว่า การเล่านิทานพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ยังความชื่นชอบในผู้ฟังทุกหมู่ทุกเหล่า ปัจจุบันการเล่านิทานก็ยังมีอยู่ทั่วไป เพียงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือผู้ฟังเท่านั้น
3.สอนหรือสอดแทรกศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม หรือให้คติเตือนใจ เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป นิทานสุภาษิต นิทานในศาสนาต่างๆ นิทานเหล่านี้ล้วนสอนให้ผู้ฟังได้ตระหนักถึงคุณธรรมที่พึงประสงค์ทั้งทางโลกและทางธรรม เช่น สอนให้ไม่เห็นแก่ตัว สอนให้ยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้า สอนให้ระวังการใช้คำพูด ฯลฯ กระตุ้นความเป็นวีรบุรุษ พัฒนาศรัทธาที่มีต่อศาสนา และเพื่อหลบหลีกความจำเจในชีวิตประจำวัน มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการให้การศึกษา ให้ความบันเทิง และเป็นแบบอย่างพฤติกรรมที่สังคม วัฒนธรรมแต่ละแห่งประสงค์
การรวบรวมนิทานพื้นบ้านอย่างเป็นระบบเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.1822 คืองานของ "พี่น้องตระกูลกริมม์-Grimm" รวบรวมนิทานพื้นบ้านเยอรมัน ซึ่งการรวบรวมครั้งนี้แตกต่างจากการรวบรวมในยุคก่อนหน้า ในแง่ที่ว่าไม่ใช่เป็นการแสดงรายการของนิทานพื้นบ้าน แต่รวมถึงการวิเคราะห์เชิงวิชาการด้วยการเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านเยอรมันกับเทพนิยายของกรีกและโรมันโบราณ รวมทั้งจินตกวีนิพนธ์ของอินเดีย
กริมม์พบว่านิทานเหล่านี้มีเนื้อหาหลักหรือแก่นร่วมกัน นำไปสู่ทฤษฎีที่ว่า เมื่อชาวอินโดยูโรเปียนละเลยทอดทิ้งศาสนาของพวกเขาที่มีร่วมกัน เทพนิยายก็ได้เปลี่ยนแปรรูปแบบไปเป็นนิทานพื้นบ้าน ความเกี่ยวโยงระหว่างศาสนาและนิทานพื้นบ้านเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้านิทานพื้นบ้านไม่มีความเกี่ยวโยงกับศาสนา การศึกษานิทานพื้นบ้าน (ความเชื่อในเรื่องที่นอกเหนือจากธรรมชาติ) ก็จะดูเหมือนว่าเป็นศาสตร์ที่ไม่เหมาะสมที่จะศึกษาเชิงวิชาการ
ลูกศิษย์ของกริมม์พัฒนาความคิดในแนวนี้ต่อไป โดยกล่าวว่านิทานพื้นบ้านทั้งหมดมีที่มาจากเทพนิยาย และเมื่อนักวิชาการเหล่านี้ไม่สามารถค้นหาเทพนิยายเพื่อที่จะใช้ในการอธิบายนิทานพื้นบ้านได้ พวกเขาก็จะสร้างเทพนิยายขึ้นมาเอง นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหา "ความหมายข้างใน" ของนิทานพื้นบ้าน นอกเหนือจากคุณค่าของนิทานในแง่ให้ความเพลิดเพลิน

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยรายงานของ เคน ดาห์ลเกรน จากองค์กรวัยรุ่นต่อต้านการสูบบุหรี่ รัฐนิวยอร์ก ถึงสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสหรัฐอเมริกาติดบุหรี่ ที่พบว่าการสูบบุหรี่ในหนังที่เยาวชนดูเป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง ตามหลังด้วยมาตรการทางการตลาด การส่งเสริมการขาย การชักนำของเพื่อน เลียนแบบคนในครอบครัว และธรรมชาติของวัยรุ่นที่ต้องการแสดงว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยร้อยละ 52 ของวัยรุ่นเริ่มสูบบุหรี่จากการเลียนแบบการสูบบุหรี่ในหนัง ทั้งนี้การที่มีฉากสูบบุหรี่ในหนังมากกว่าชีวิตจริง ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มีหลักฐานยืนยันว่าบริษัทบุหรี่อยู่เบื้องหลังโดยการให้สินบนแก่ผู้สร้าง ผู้กำกับหรือดาราผู้แสดงโดยตรง
การวิเคราะห์ข้อมูลยังพบว่า มีฉากแสดงการสูบบุหรี่ 1,200 ล้านครั้ง ในหนังที่ฉายสำหรับเด็กอายุ 6-17 ปี ในปี พ.ศ.2546 และมีฉากสูบบุหรี่ถึง 6,500 ล้านครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2548 และดาราที่วัยรุ่นสหรัฐฯ ชื่นชอบ 10 อันดับแรกล้วนมีฉากสูบบุหรี่ในหนังที่แสดง การทำให้มีฉากสูบบุหรี่ในหนัง เป็นการส่งสัญญาณที่มีพลังอย่างแรงถึงคนหนุ่มสาวว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องที่สังคมยอมรับ หรือแม้กระทั่งเป็นสิ่งที่พึงประสงค์
ศ.นพ.ประกิต กล่าวอีกว่า ล่าสุด วอลท์ ดิสนีย์ ไทม์ วอเนอร์ และเวียดนาม เป็นสามค่ายหนังที่รวมกันแล้วมีหนังที่มีฉากสูบบุหรี่ที่เด็กดูได้ร้อยละ 55 เมื่อเดือนกรกฎาคมนี้ บริษัท วอลท์ ดิสนีย์ ประกาศว่าจะไม่มีภาพการสูบบุหรี่ในหนังของดิสนีย์ ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้นักสร้างหนังไทย ทำแบบเดียวกัน เพื่อช่วยไม่ให้เด็กไทยตกเป็นทาสของการเสพติดบุหรี่

พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง

“ขอให้ทุกคนมีความปรารถนา ที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกินมีความสงบ และทำงาน ตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธานในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพอกิน ไม่ใช่ว่า จะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่มีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ ฉะนั้น ถ้าทุกท่าน ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิด และมีอิทธิพล มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวม ให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่ พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่า อยู่ตลอดกาล”

เศรษฐกิจพอ เพียงกับการศึกษาปลูกป่าในใจคนก่อน

จากการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 101 แห่งทั่ว ประเทศ วันที่ 19 ส.ค.ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานในพิธีได้ แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจ พอเพียงกับการศึกษา” ขอนำบางช่วง บางตอนของการปาฐกถา เพื่อประโยชน์ต่อ นักเรียน ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถาน ศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป
“เศรษฐกิจพอเพียง” สมดุล แห่งชีวิตปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญาที่พระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักคิดและหลัก ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต ในครอบครัว ในโรงเรียน ในประเทศ โดยตั้งสมมุติ-ฐาน ที่ว่าทุกสิ่งอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาจากนอกประเทศ กับในประเทศ นอกโรงเรียนกับในโรงเรียน นอกครอบครัวกับในครอบครัว แล้วทรงชี้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบ 4 ด้านด้วยกัน
คือ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม ผลกระทบทางวัตถุ อาจจะหมายถึงทางเศรษฐกิจทางการเงินก็ได้ ส่วนผลกระทบ ทางสังคม ให้นึกถึงความเข้มแข็งของโรงเรียนของท่าน ที่ไม่มีเด็กติดยาเสพติด เลย หมายถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ สังคมของโรงเรียนเข้มแข็ง หรือพูดถึงครอบ ครัวครูที่ไม่มีหนี้เลย ก็หมายถึงว่าสังคมครอบครัวเข้มแข็ง ส่วนผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมที่ชัดเจนคือเรื่องความสะอาด ความมีวินัย เช่น การรักษาต้นไม้ การปลูก ต้นไม้ให้เด็กได้ร่มในโรงเรียน ห้องส้วมสะอาด ขณะที่ผลกระทบทางวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมจากนอกประเทศที่จะเข้ามาทำลายวัฒนธรรมไทย จึงต้องรักษา วัฒนธรรมของเราให้เข้มแข็ง“คุณธรรม” รากเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิคุ้มกันในตัวเราที่ดีก็คือ empowerment คือ ทำให้เข้มแข็ง เข้มแข็งทางการเงิน ก็คือว่า ครอบครัวต้องมีเงินออม ไม่ใช่มีหนี้ ถ้ามีหนี้ก็คือ เป็นเรื่องของ ความอ่อนแอ แต่ถ้ามีเงินออมมากก็เป็นเรื่องของความเข้มแข็ง โดยมีเงื่อนไข สำคัญคือเรื่องคุณธรรม เพราะการที่คนขี้โกง เอาเงินไปใช้แล้วก็ประสบความสุข ความร่ำรวย ซึ่งผิดกับหลักการดังกล่าว เพราะผิดเงื่อนไข คือ เรื่องคุณธรรม โรงเรียนไหนจะเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ จะต้องไปสร้างคุณธรรมใน โรงเรียนก่อน ตั้งแต่ผู้อำนวยการลงไปถึงภารโรง เด็กทุกคน ครูทุกคน ต้องมี คุณธรรมโรงเรียนต้องพร้อมทำงาน หนักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และ ปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงต้อง การให้เราจนอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ใช่ให้เราปิดประเทศ แต่มีคนเข้าใจผิดเยอะ มาก เพราะความจริงแล้วเป็นแนวทางปฏิบัติตนสำหรับประชาชนทุกระดับ โดยยึด ทางสายกลางให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ได้บอกว่าให้เราเอาปรัชญานี้ไป ใช้แล้วก็ หงอย จ๋อย อยู่นั่น ตรงกันข้ามต้องกระตือรือร้น ต้องทำงานหนัก ถ้าจะ เอาปรัชญานี้ไปใช้ ต้องถามตัวเองก่อนว่า โรงเรียนของท่านพร้อมจะทำงานหนัก หรือไม่
3 องค์ประกอบ บันไดสู่เป้าหมาย องค์ประกอบของความ พอเพียงมี 3 องค์ประกอบ
คือ1. ความพอประมาณไม่สุดโต่ง จะลง ทุน จะซื้อของ ต้องพอประมาณ
2. ต้องมีเหตุผลอธิบายได้
3. ต้องสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยน แปลงทั้งภายนอกภายในเรามีเงินงบประมาณอยู่ก้อนหนึ่ง เรา ต้องการจะทำห้องแล็บ คอมพิวเตอร์ จะลงทุนเท่าไหร่ดี คำถามแรกคือ มีเหตุผล ไหมที่จะต้องทำคอมพิวเตอร์ใหม่ ถ้ามีก็โอเค แล้วเราจะใช้งบประมาณสักเท่าไหร่ ถึงจะพอประมาณ และจะเหลืออีกเท่าไหร่ ส่วนความพอประมาณ ก็คือความพอดี พอเหมาะต่อความจำเป็น พอควรแก่อัตภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยมี พระราชดำรัสว่า “พอเพียงของฉันคือพอควรแก่อัตภาพ ถ้าเขาเป็นเศรษฐีแสน ล้าน เขาจะซื้อกระเป๋าถือ 30,000 บาท เรื่องของเขา แต่เรามีเงิน 12,000 บาท แล้วเราจะไปซื้อกระเป๋า 3,000 บาท อันนี้ไม่พอควรแก่อัตภาพ แล้ว”สร้างภูมิคุ้มกันให้โรงเรียน ระบบภูมิคุ้มกันทางด้านวัตถุ ด้านธุรกิจ ฐานะการเงิน ภูมิคุ้มกันด้านสังคมครอบครัวเข้มแข็ง โรงเรียนเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง หมายความว่าภูมิคุ้มกันเราดี ใครจะเอายาเสพติดมาขาย หน้า โรงเรียน นักเรียนเราก็ไม่รับ เพราะว่าเราสร้างภูมิคุ้มกันสังคมตรงนี้ไว้ดีมาก เรา สร้างสำนึกไว้ดีมากให้แก่นักเรียนทุกคนตลอดเวลาอันนี้คือภูมิคุ้มกัน ต่ออบายมุขทั้งหลาย ภูมิคุ้มกันต่อเหตุร้ายทั้งหลาย ไม่ตกเป็นเหยื่อของอบายมุข มีความรักสามัคคีกันในโรงเรียน เกื้อกูลกัน ภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อมก็เหมือนกัน คือ มีความรู้วิชาการด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสตรีภูเก็ต เป็นตัวอย่างของการนำ เอาพฤกษศาสตร์เข้าไปในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นการสร้างภูมิ คุ้มกัน หรือความเข้มแข็งทางด้านสิ่งแวดล้อม แล้วนำมาถ่ายทอดทางด้านวิชาการ ได้ผอ.โรงเรียนต้องดูแลตั้งแต่ห้องน้ำ เรื่องสิ่งแวดล้อมโรงเรียน อยาก ฝากไว้ 2 เรื่อง คือ1. เรื่องความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม โรงเรียน ในอดีตเคยมีข่าวเรื่องกำแพงพังทับนักเรียนตาย บาง โรงเรียนเลี้ยงจระเข้ไว้แล้วผู้ปกครองไปฟ้องศาลก็มีมาแล้ว เราต้องนึกถึงเรื่อง ความปลอดภัยในโรงเรียนก่อน2. เรื่องความสะอาด และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม คนเป็น ผอ.โรงเรียน มีหน้าที่ต้องเดิน ดูโรงเรียนอย่างน้อยวันละ 2 รอบ ดูห้องน้ำ ดูรั้วโรงเรียนตรงไหนมันหัก มันพัง มัน ผุ ต้นไม้ต้นไหนจะหักมาทับนักเรียนหรือไม่ รวมถึงความปลอดภัยในส่วนของบ่อ น้ำ สระน้ำ เพราะเด็กไทยจมน้ำตายเป็นหนึ่งใน 3 ของสาเหตุการเสียชีวิตของเด็ก ไทยในทุกปี ขณะที่ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ทุกโรงเรียนมีหน้าที่สำคัญต่อประเทศ ชาติอย่างมาก จะต้องทำให้เด็กทุกรุ่นศรัทธาและมั่นคงในวัฒนธรรมไทย ในขณะ เดียวกันต้องเข้าใจและเป็นมิตรต่อวัฒนธรรมอื่น เพื่อความเป็นไทย และความเป็น คนไทยจะได้ยั่งยืน3 เงื่อนไขหัวใจหลัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง มีพระราชดำรัสถึง แนวทางการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ได้ผลดี ว่ามี 3 เงื่อนไข
คือ1. หลักวิชา โดย พระองค์ท่านจะทำอะไร ทรงอาศัยหลักวิชาเสมอ ไม่ได้ทำตามอารมณ์ ไม่ได้ทำ ตามกระแส ไม่ได้ตัดสินใจตามผลประโยชน์ของใคร แต่ใช้หลักวิชาเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ทุกคน การทำอะไรจะต้องทำวิจัยให้แน่ก่อน ก่อนที่จะเผยแพร่ ให้ราชการนำไปเผยแพร่ต่อ แต่ของประเทศเราไม่ จะทำอะไรทุกจังหวัดทำเหมือน กัน 40,000 โรงเรียนทำเหมือนกันซึ่งไม่ใช่
2. เงื่อนไข คุณธรรม ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต
3. เงื่อนไขในการดำเนินชีวิต ต้องรอบรู้ ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน เรื่อง ความเพียร“ยูเอ็น” แจกเศรษฐกิจพอ เพียง 135 ประเทศส่วนผลที่คาดว่าจะได้รับ จากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ
1. ให้เกิดความสมดุล รองรับการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชา ชาติ (ยูเอ็น) เห็นประโยชน์แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมหาศาล ซึ่งองค์การ สหประชาชาติจะนำไปเผยแพร่ทั่วโลก ผ่านองค์กร ยูเอ็นดีพี เอเชียแปซิฟิก สำหรับปี 2550 จะมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาอธิบายให้ต่างประเทศให้ เข้าใจให้ได้ พร้อมทั้งมีการพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาไทยเผยแพร่ในประเทศ ไทย ให้พวกเราที่ยังไม่เข้าใจได้เข้าใจ ส่วนภาษาอังกฤษ จะนำไปเผยแพร่ใน 135 ประเทศ เพื่อใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปลดผลกระทบอย่างรุนแรง ของกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทำลายอะไรต่ออะไรทั่วโลกอยู่ในขณะนี้สร้างเด็กเน้นดี-เก่ง สำหรับผลข้อ
2. การระเบิดจาก ข้างใน คือ เวลาจะไปพัฒนาท้องถิ่นไหน ต้องทำให้ประชาชนที่นั่นเก่ง ไม่ใช่เอา ความเจริญจากข้างนอกไปพอก ในโรงเรียนก็เช่นกัน สิ่งที่เราจะทำให้เปิดจากภาย ใน คือ ทำให้นักเรียนทุกคนเป็นเทวดาให้ได้ คือทำให้เป็นคนดี คนเก่ง การจะไป พัฒนาโรงเรียน แต่เด็กจน ไม่มีอาหารกลางวันกิน เด็กจะเรียนได้อย่างไร ถามว่า เด็กที่หิวมากๆ จะเรียนรู้ เรื่องหรือ เพราะฉะนั้นถ้าจะพัฒนาโรงเรียนต้องถามก่อน ว่าเด็กสุขภาพเป็นอย่างไร การกิน การอยู่ พอไหม มีความทุกข์หรือเปล่า การจะ พัฒนาอะไรต้องเริ่มต้นจากสิ่งจำเป็นที่สุดของประชาชนเข้ามาก่อน ได้แก่ สุขภาพ สาธารณสุข จากนั้นจึงเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน สิ่งจำเป็นในการประกอบ อาชีพตามมารู้-รัก-สามัคคี วิธีทรงงานของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว คือ ทำให้ง่าย อย่าทำให้ซับซ้อน มี นักบริหารบางคนทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ แต่มีนักบริหารหลายคน ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก คนบางคน มองทุกปัญหามีทางออก แต่ก็มีบางคน มองทุกทางออกมีปัญหา ไม่ติดตำรา ใช้อธรรม ปราบอธรรม ปลูกป่าในใจคนก่อน และต้องมุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก การมีส่วนร่วม ขาดทุนคือกำไร การบริหารรวมที่จุดเดียว ทรงมีพระราช ดำริให้บริหารเป็นการบริการด้วยและบริหารที่จุดเดียว บริการที่จุดเดียว บริหาร แบบเบ็ดเสร็จ ทั้ง 2 ระดับทั้งระดับบริหาร และระดับบริการสุดท้ายคือ รู้ รักสามัคคี ส่วนมากเราจะพิมพ์ติดกัน 3 ตัว แต่ความจริงความหมายมันแยกกัน คือ รู้- การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น เรา ต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหารัก- เมื่อเรารู้ครบถ้วนกระบวนความแล้ว จะต้องมีความรัก การพิจารณาที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหานั้นๆ ต้องเกิดฉันทะในนั้น พอรู้หมด รู้วิธีแก้ปัญหาแล้วท้อ ฝืนทำก็ไม่ได้งาน แต่เมื่อรู้ปัญหาแล้ว ต้องสร้าง ฉันทะ สามัคคี-หลังจากนั้น แล้วพอจะลงมือทำการลงมือปฏิบัตินั้น ควรคำนึงเสมอว่า เราจะทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องทำร่วมกันเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลัง จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ ด้วยดี.

ภาพ

ภาพนี้เป็นภาพที่เริ่มจากการวาดเส้นเป็นครั้งแรก จากนั้นก็เริ่มการลงสีถึงแม้ว่ามันจะไม่ค่อยสวยงามสักเท่าไรเพราะเป็นการลงสีสามสีเป็นครั้งแรกน่าตาของรูปนี้จึงออกมาเป็นแบบนี้





นิทาน เรื่อง อึ่งอ่างกับวัว



ภาพๆนี้เป็นภาพจากนิทานเรื่องอึ่งอ่างกับวัว




ภาพนี้แสดงให้เห็นว่าลูกอึ่งอ่างกำลังสนทนาอยู่กับแม่อึ่งอ่าง มีข้อความดังนี้




"ใหญ่ขนาดนี้ได้ไหม? แม่อึ่งอ่างถามพร้อมพองตัว"





ภาพนี้แสดงให้เห็นว่าลูกอึ่งอ่างกำลังสนทนาอยู่กับแม่อึ่งอ่าง มีข้อความดังนี้



" ตัวใหญ่ขนาดนี้อีกจ้า ลูกอึ่งอ่างตอบ"
ภาพนี้แสดงให้เห็นว่าลูกอึ่งอ่างกำลังสนทนาอยู่กับแม่อึ่งอ่าง มีข้อความดังนี้

"งั้นหรือ เอ้า! ใหญขนาดนี้ได้ไหม ว่าแล้วแม่อึ่งอ่างก็พองตัวให้โตขึ้นอีก"