ตูนๆๆๆ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

นิทานพื้นบ้าน


นิทานพื้นบ้าน หมายถึงเรื่องที่เล่าสืบกันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวาจา แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับการบันทึกไว้ นิทานพื้นบ้านปรากฏอยู่ในทุกๆ วัฒนธรรม มีทั้งความแตกต่าง หลากหลาย และความเหมือน มีความสำคัญในการเข้าถึงวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งนี้ จำแนกความสำคัญของนิทานพื้นบ้านได้เป็น 3 ประการ
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของนิทาน เช่น ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม สภาพเศรษฐกิจ ภูมิประเทศ และถิ่นฐานบ้านเรือน ทั้งรูปแบบการเล่านิทานที่ใช้คำประพันธ์เข้ามาช่วย เช่น แหล่ เทศน์ เสภา ยังสร้างความงามด้านรูปแบบอีกโสดหนึ่ง ดังนั้นหากเยาวชนได้เรียนรู้นิทานพื้นบ้านของตนจึงเป็นช่องทางในการรู้ตนเอง สามารถอธิบายตนเองได้ รวมทั้งอาจจะบอกได้ถึงข้อดีและข้อจำกัดในวัฒนธรรมนั้นๆ ของตนได้
2.ให้ความสนุกสนานเพลิด เพลิน ปกติแล้วผู้เล่านิทานมักเป็นผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบ การณ์ และผู้ฟังมักจะเป็นเด็กหรือมีประสบการณ์น้อยกว่า การเล่านิทานพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ยังความชื่นชอบในผู้ฟังทุกหมู่ทุกเหล่า ปัจจุบันการเล่านิทานก็ยังมีอยู่ทั่วไป เพียงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือผู้ฟังเท่านั้น
3.สอนหรือสอดแทรกศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม หรือให้คติเตือนใจ เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป นิทานสุภาษิต นิทานในศาสนาต่างๆ นิทานเหล่านี้ล้วนสอนให้ผู้ฟังได้ตระหนักถึงคุณธรรมที่พึงประสงค์ทั้งทางโลกและทางธรรม เช่น สอนให้ไม่เห็นแก่ตัว สอนให้ยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้า สอนให้ระวังการใช้คำพูด ฯลฯ กระตุ้นความเป็นวีรบุรุษ พัฒนาศรัทธาที่มีต่อศาสนา และเพื่อหลบหลีกความจำเจในชีวิตประจำวัน มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการให้การศึกษา ให้ความบันเทิง และเป็นแบบอย่างพฤติกรรมที่สังคม วัฒนธรรมแต่ละแห่งประสงค์
การรวบรวมนิทานพื้นบ้านอย่างเป็นระบบเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.1822 คืองานของ "พี่น้องตระกูลกริมม์-Grimm" รวบรวมนิทานพื้นบ้านเยอรมัน ซึ่งการรวบรวมครั้งนี้แตกต่างจากการรวบรวมในยุคก่อนหน้า ในแง่ที่ว่าไม่ใช่เป็นการแสดงรายการของนิทานพื้นบ้าน แต่รวมถึงการวิเคราะห์เชิงวิชาการด้วยการเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านเยอรมันกับเทพนิยายของกรีกและโรมันโบราณ รวมทั้งจินตกวีนิพนธ์ของอินเดีย
กริมม์พบว่านิทานเหล่านี้มีเนื้อหาหลักหรือแก่นร่วมกัน นำไปสู่ทฤษฎีที่ว่า เมื่อชาวอินโดยูโรเปียนละเลยทอดทิ้งศาสนาของพวกเขาที่มีร่วมกัน เทพนิยายก็ได้เปลี่ยนแปรรูปแบบไปเป็นนิทานพื้นบ้าน ความเกี่ยวโยงระหว่างศาสนาและนิทานพื้นบ้านเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้านิทานพื้นบ้านไม่มีความเกี่ยวโยงกับศาสนา การศึกษานิทานพื้นบ้าน (ความเชื่อในเรื่องที่นอกเหนือจากธรรมชาติ) ก็จะดูเหมือนว่าเป็นศาสตร์ที่ไม่เหมาะสมที่จะศึกษาเชิงวิชาการ
ลูกศิษย์ของกริมม์พัฒนาความคิดในแนวนี้ต่อไป โดยกล่าวว่านิทานพื้นบ้านทั้งหมดมีที่มาจากเทพนิยาย และเมื่อนักวิชาการเหล่านี้ไม่สามารถค้นหาเทพนิยายเพื่อที่จะใช้ในการอธิบายนิทานพื้นบ้านได้ พวกเขาก็จะสร้างเทพนิยายขึ้นมาเอง นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหา "ความหมายข้างใน" ของนิทานพื้นบ้าน นอกเหนือจากคุณค่าของนิทานในแง่ให้ความเพลิดเพลิน

ไม่มีความคิดเห็น: